หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563

"หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด เทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยให้แผลเล็ก บาดเจ็บน้อย และฟื้นตัวเร็ว"


หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดคืออะไร?

ในปัจจุับันเทคนิคการผ่าตัดโดยวิธีการบาดเจ็บน้อย (minimal invasive) ได้รับความนิยมอย่างสูง และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการแพทย์ ส่งผลให้ประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพื่อเอาชนะข้อจำกัดด้านความสามารถของมนุษย์
การพัฒนาของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเริ่มมาจากระบบทางอุตสาหกรรมที่ใช้หุ่นยนต์ช่วยในการทำงานในที่เสี่ยงภัย เช่น บริเวณที่มีกัมมันตภาพรังสี ใต้มหาสมุทร หรือแม้กระทั่งในอวกาศ สำหรับทางการแพทย์บางครั้งศัลยแพทย์ไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ทุกที่ เช่น บริเวณแนวหน้าของสงคราม หรือบริเวณทุรกันดารที่ต้องการศัลยแพทย์อย่างเร่งด่วน ทำให้มีการคิดค้น และริเริ่มการผ่าตัดทางไกลโดยใช้ศัลยแพทย์ควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด
หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเริ่มถูกนำมาใช้ทางการแพทย์ในปี 1985 ชื่อว่า PUMA ใช้ในการเจาะชิ้นเนื้อสมอง ต่อมาปี 1988 ดร.นาธาน จากมหาวิทยาลัย อิมพิเรียล แห่งลอนดอนได้พัฒนาหุ่นยนต์ที่ชื่อว่า Probot มาช่วยในการผ่าตัดผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดมาอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดได้นำระบบ da Vinci และระบบควบคุมการเคลื่อนไหว AESOP และ ZEUS มาใช้ทำให้การผ่าตัดด้วยกล้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การเคลื่อนไหวของเครื่องมือในการผ่าตัดส่องกล้องธรรมดาสามารถหมุนได้สี่ทิศทาง ขณะที่การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์สามารถหมุนเครื่องมือได้ถึงเจ็ดทิศทาง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการแก้ไขความผิดปกติได้อย่างแม่นยำ ประกอบกับเป็นกล้องที่สามารถทำให้ศัลยภาพมองเห็นภาพเป็นสามมิติได้ และมือของหุ่นยนต์ยังสามารถช่วยลดการมือสั่นจากการเมื่อยหล้าจากการผ่าตัดของศัลยแพทย์ได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น